วันอังคารที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 16

บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 1   ธันวาคม    พ.ศ.2557
ครั้งที่ 16 เวลาเรียน 11.30 - 14.00 กลุ่ม 103




กิจกรรมวันนี้

        วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาประเมินความรู้สึกหลังเรียน  สิ่งที่ชอบ  สิ่งที่ไม่ชอบ  และในระหว่างนี้ อาจารย์ได้ประกาศรายชื่อรางวัลสำหรับคนที่มาเข้าเรียนทุกคาบเรียน และรางวัลเด็กดี โดยอาจารย์จะประเมิน และหมอบรางวัลนี้ให้กับนักศึกษาที่เข้าเรียนทุกคาบ และรางวัลเด็กดี โดยอาจารย์ประเมินจากการที่ได้รางวัลติดต่อกันหลายปี รวมถึงปีนี้ด้วย

เพื่อนที่ได้รางวัล คือ




เพื่อนที่ได้รางวัลเด็กดี คือ




การประเมินตนเอง

- วันนี้เป็นการเรียนการสอนวันสุดท้าย อาจจะมีการคุยกับกลุ่มเพื่อนบ้าง แต่ก็ทำงานที่อาจารย์ได้รับหมอบงานไว้ คือ การประเมิน และตั้งใจฟังอาจารย์สรุปบทเรียนที่ผ่านมาให้ฟัง เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการสอบปลายภาคของรายวิชานี้

การประเมินเพื่อน

- วันนี้เป็นการเรียนการสอนวันสุดท้าย เพื่อนๆอาจจะเล่นกัน และพูดคุยกันเสียงดังบ้าง แต่เพื่อนๆก็ให้ความสำคัญกับการทบทวนบทเรียนของอาจารย์ที่ได้นำมาพูดสรุปให้ในวันนี้


การประเมินอาจารย์ผู้สอน

- วันนี้อาจารย์ได้พูดสรุป เพื่อเป็นการทบทวนบทเรียนในกับนักศึกษา เพื่อที่จะได้นำไปใช้ในการสอบปลายภาคนี้ และอาจารย์ได้หมอบรางวัลเพื่อเป็นกำลังใจให้กับนักศึกษาที่ตั้งใจเรียน และเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเพื่อนๆด้วย

วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 15


บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่ 24  พฤศจิกายน    พ.ศ.2557
ครั้งที่ 15  เวลาเรียน 11.30 - 14.00 กลุ่ม 103


กิจกรรมวันนี้

เด็กสมาธิสั้น (ADHD)

     การดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเด็กสมาธิสั้น
  • การใช้ยา
  • การฝึกฝนการควบคุมตัวเอง
  • การปรับสภาพแวดล้อม
1.การใช้ยา
  • ปัจจุบันถือเป็นมาตรฐานการรักษา
  • ยาที่ใช้มือความปลอดภัย และมีผลข้างเคียงน้อย
  • สามารถช่วยให้เด็กมีสมาธิดีขึ้น สงบขึ้น และควบคุมตัวเองได้ดีขึ้น
  • ส่งผลให้ การเรียนดีขึ้น ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างดีขึ้น
2.การปรับพฤติกรรม (การฝึกฝนการควบคุมตัวเอง)
  • จัดกิจวัตรประจำวันของเด็ก ให้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอตามเวลาที่กำหนดไว้
  • ฝึกฝนให้เด็กมีสมาธิกับสิ่งที่ทำได้ต่อเนื่อง ประมาณ 20 - 30 นาที
  • ให้ความสนใจเมื่อเด็กทำตัวดี หรือเข้ามาช่วยเหลืองานบางอย่าง
  • ลงโทษให้ถูกวิธี
3.การปรับสภาพแวดล้อม
  • สิ่งแวดล้อมต้องไม่กระตุ้นเด็กมากจนเกินไป
  • จัดเก็บของเล่นต่างๆเข้าที่ ให้พ้นจากสายตาเด็ก
  • เวลาทำงาน ควรจัดมุมที่สงบ ห้องต้องไม่กว้างเกินไป ไม่มีคนเดินไปมา



การประเมินตนเอง
- วันนี้ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายถึงเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ และจดบันทึกลงสมุดโน๊ต

การประเมินเพื่อน
- วันนี้เพื่อนๆส่วนใหญ่ตั้งใจเรียนดี ไม่ค่อยคุยหรือเวลากันในเวลาเรียน และจดบันทึกลงในสมุด

การประเมินอาจารย์ผู้สอน
- วันนี้อาจารย์ได้อธิบายถึง เด็กสมาธิสั้น (ADHD) โดยอาจารย์ได้อธบายในรูปแบบของ PowerPoint  และหลังจากนั้นได้ให้นักศึกษาชม VDO และอาจารย์ได้อธิบายถึง VDO เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 14


บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่ 17  พฤศจิกายน    พ.ศ.2557
ครั้งที่ 14  เวลาเรียน 11.30 - 14.00 กลุ่ม 103




กิจกรรมวันนี้
            เนื่องจากวันนี้อาจารย์ได้งดการเรียนการสอนให้นักศึกษาเตรียมจัดงานโครงการ
"ครูปฐมวัยร่วมใจอนุรักษ์ สืบทอดความเป็นไทย" เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชานาฏศิลป์สำหรับเด็กปฐมวัย จัด ณ ตึกคณะศึกษาศาสตร์  ในวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
            สรุปความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการจัดงานโครงการ "ครูปฐมวัยร่วมใจอนุรักษ์ สืบทอดความเป็นไทย" ในวันอังคาร ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ.2557 ที่นักศึกษาปีที่ 3จัดทำขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชานาฏศิลป์สำหรับเด็กปฐมวัย

การเตรียมงาน





ความประทับใจภายในงาน















หลังการเสร็จงาน



บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 13


 บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่ 10  พฤศจิกายน    พ.ศ.2557
ครั้งที่ 13  เวลาเรียน 11.30 - 14.00 กลุ่ม 103



กิจกรรมวันนี้

การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับปรุงพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่่มีความต้องการพิเศษ

วัตถุประสงค์ของการส่งเสริมพัฒนาการ
  • เด็กพัฒนาตามศักยภาพ จนสามารถช่วยตนเองได้
  • ป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้น เตรียมเด็กให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีความคิด แสดงออกอย่างถูกต้องและสามารถประกอบอาชีพได้
  • เพื่อให้บิดามารดามีความรู้ และนำไปปรับใช้ให้เป็นประโยชน์แก่บุตร
  • เพื่อให้บิดามารดามีความสัมพันธภาพที่ดีต่อบุตร
เป้าหมายของการส่งเสริมพัฒนาการ
  • เป้าหมายทั่วไป เพื่อให้เด็กมีทักษะที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง สามารถพึ่งตนเองและมีชีวิตอยู่ในสังคมได้
  • เป้าหมายเฉพาะ เพื่อให้พัฒนาขึ้นตามขั้นตอนจากทักษะง่ายไปสู่ทักษะที่ยากขึ้น และแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม
ผลที่ได้จากการส่งเสริมพัฒนาการ
  • พัฒนาทักษะด้านต่างๆ เช่น การอ่าน คณิตศาสตร์ และภาษาดีขึ้น
  • สามารถปรับตัวและช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น
  • สังคมยอมรับมากขึ้น ไปเรียนร่วมหรือเรียนรวมได้
  • ลดปัญหาพฤติกรรม ลดผลของความพิการ
  • คุณภาพชีวิตดีขึ้น สามารถแก้ไขปัญหาและทำงานได้ดีขึ้น







การประเมินตนเอง
- วันนี้ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายถึงเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ และจดบันทึกลงสมุดโน๊ต

การประเมินเพื่อน
- วันนี้เพื่อนๆส่วนใหญ่ตั้งใจเรียนดี ไม่ค่อยคุยหรือเวลากันในเวลาเรียน และจดบันทึกลงในสมุด

การประเมินอาจารย์ผู้สอน
- วันนี้อาจารย์ได้บอกถึงการส่งเสริมพัฒนาการและการปรับปรุงพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่่มีความต้องการพิเศษโดยให้นักศึกษาชม VDO และอาจารย์ได้อธิบายถึง VDO เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น

วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 12



 บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่ 3 พฤศจิกายน    พ.ศ.2557
ครั้งที่ 12  เวลาเรียน 11.30 - 14.00 กลุ่ม 103




วันนี้ขาดเรียนค่ะ





บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 11


 บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่ 27  ตุลาคม พ.ศ.2557
ครั้งที่ 11  เวลาเรียน 11.30 - 14.00 กลุ่ม 103




สอบกลางภาคในราย
วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ





บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10


บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่ 20  ตุลาคม พ.ศ.2557
ครั้งที่ 10  เวลาเรียน 11.30 - 14.00 กลุ่ม 103



กิจกรรมวันนี้

          วันนี้อาจารย์ได้นำ PowerPoint เรื่องเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
(Children With Behavioral and Emotional Disorders)


             ความบกพร่องทางอารมณ์ซึ่งนำไปสู่ความบกพร่องทางพฤติกรรมมีลักษณะที่หลากหลาย ซึ่งจำแนกได้เป็นระดับตั้งแต่เบา (Mild) จนถึงรุนแรง (Severe) นอกจากนี้เด็กยังสามารถแสดงอาการผิดปกติได้มากกว่าหนึ่งลักษณะอีกด้วย ซึ่งตัวอย่างของความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ที่พบได้บ่อย ได้แก่ ความวิตกกังวล (Anxiety) ซึ่งทำให้เด็กมีนิสัยขี้กลัว รวมไปถึงภาวะซึมเศร้า (Depression) ที่ส่งผลกระทบให้เด็ก 2 คนในจำนวน 100 คนมีความเศร้าในระดับที่สูงเกินไป รวมทั้งมีปัญหาทางสุขภาพ และขาดแรงกระตุ้นหรือความหวังในชีวิต นอกจากนี้เด็กยังอาจมีความผิดปกติทางการรับประทานร่วมด้วย โดยลักษณะของปัญหาความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ในเด็ก สามารถจำแนกได้ตามกลุ่มอาการ ดังนี้


ด้านความประพฤติ (Conduct Disorders)
  • ใช้กำลังทำร้ายผู้อื่น ทำลายข้าวของ ลักทรัพย์
  • ฉุนเฉียวง่าย มีอารมณ์หุนหันพลันแล่น และเกรี้ยวกราด
  • มีนิสัยกลับกลอก เชื่อถือไม่ได้ ชอบโทษผู้อื่น และมักโกหกอยู่เสมอ
  • หนีเรียน รวมถึงหนีออกจากบ้าน
  • ใช้สารเสพติด
  • หมกมุ่นในกิจกรรมทางเพศ
ด้านความตั้งใจและสมาธิ (Attention and Concentration)
  • มีความสามารถในการจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะสั้น (Short attention span) ซึ่งอาจไม่เกิน 20 วินาที และสามารถถูกสิ่งต่างๆ รอบตัวดึงความสนใจได้ทุกเมื่อ
  • มีลักษณะงัวเงีย ไม่แสดงความสนใจใดๆ รวมถึงมีท่าทางเหมือนไม่ฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูด
สมาธิสั้น (Attention Deficit)
  • มีลักษณะกระวนกระวาย ไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ได้ และหยุกหยิกไปมา
  • พูดคุยตลอดเวลา และมักรบกวนหรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่นอยู่เสมอ
  • มีทักษะการจัดการในระดับต่ำ

การถอนตัวหรือล้มเลิก (Withdrawal)
  • การถอนตัวหรือล้มเลิก  และมักรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าผู้อื่น
  • เฉื่อยชา และมีลักษณะคล้ายเหนื่อยตลอดเวลา
  • ขาดความมั่นใจ ขี้อาย ขี้กลัว ไม่ค่อยแสดงความรู้สึก
ความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย (Function Disorder)
  • ความผิดปกติเกี่ยวกับพฤติกรรมการกิน (Eating Disorder) เช่น การอาเจียนโดยสมัครใจ (Voluntary Regurgitation) การปฏิเสธที่จะรับประทาน รวมถึงนิสัยการรับประทานสิ่งที่รับประทานไม่ได้
  • โรคอ้วน (Obesity)
  • ความผิดปกติของการขับถ่ายทั้งอุจจาระและปัสสาวะ (Elimination Disorder)




เด็กสมาธิสั้น
(Children With Attention Deficit Hyperactivity Disordes; ADHD)


สาเหตุ
  • ความผิกปกติของสารเคมีบางชนิดในสมอง
  • ความผิดปกติในการทำงานของวงจรที่ควบคุมสมาธิ
  • พันธุกรรม
  • สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ


ADHD เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวช มีลักษณะเด่นอยู่ 3 ประการ คือ

Hyperactivity (ซนอยู่ไม่นิ่ง)
  • ซุกซนไม่ยอมอยู่นิ่ง
  • เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
  • เหลียวซ้ายแลขวา
  • ยุกยิก แกะโน่นเกานี่
  • อยู่ไม่สุข ปีนป่าย
  • นั่งไม่ติดที่
  • ชอบคุยส่งเสียงดังรบกวนคนรอบข้าง
Impulsiveness (หุนหันพลันแล่น)
  • ยับยั่งตัวเองไม่ค่อยได้
  • ขาดความยับยั่งชั่งใจ
  • ไม่อดทนต่อการรอคอย
  • ไม่อยู่ในกติกา
  • ทำอะไรค่อนข้างรุนแรง
  • พูดโพล่ง ทะลุกลางปล้อง
  • ไม่รอคอยให้คนอื่นพูดจบก่อน



การประเมินตนเอง
- วันนี้ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายถึงเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ และจดบันทึกลงสมุดโน๊ต

การประเมินเพื่อน
- วันนี้เพื่อนๆส่วนใหญ่ตั้งใจเรียนดี ไม่ค่อยคุยหรือเวลากันในเวลาเรียน และจดบันทึกลงในสมุด

การประเมินอาจารย์ผู้สอน
- วันนี้อาจารย์ได้บอกถึงอาการของเด็กที่ความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ถึและวิธีดูแลเด็ก และได้ให้นักศึกษาชม VDO และจดบันทึก