บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2557
ครั้งที่ 10 เวลาเรียน 11.30 - 14.00 กลุ่ม 103
กิจกรรมวันนี้
วันนี้อาจารย์ได้นำ PowerPoint เรื่องเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
(Children With Behavioral and Emotional Disorders)
ความบกพร่องทางอารมณ์ซึ่งนำไปสู่ความบกพร่องทางพฤติกรรมมีลักษณะที่หลากหลาย ซึ่งจำแนกได้เป็นระดับตั้งแต่เบา (Mild) จนถึงรุนแรง (Severe) นอกจากนี้เด็กยังสามารถแสดงอาการผิดปกติได้มากกว่าหนึ่งลักษณะอีกด้วย ซึ่งตัวอย่างของความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ที่พบได้บ่อย ได้แก่ ความวิตกกังวล (Anxiety) ซึ่งทำให้เด็กมีนิสัยขี้กลัว รวมไปถึงภาวะซึมเศร้า (Depression) ที่ส่งผลกระทบให้เด็ก 2 คนในจำนวน 100 คนมีความเศร้าในระดับที่สูงเกินไป รวมทั้งมีปัญหาทางสุขภาพ และขาดแรงกระตุ้นหรือความหวังในชีวิต นอกจากนี้เด็กยังอาจมีความผิดปกติทางการรับประทานร่วมด้วย โดยลักษณะของปัญหาความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ในเด็ก สามารถจำแนกได้ตามกลุ่มอาการ ดังนี้
ด้านความประพฤติ (Conduct Disorders)
- ใช้กำลังทำร้ายผู้อื่น ทำลายข้าวของ ลักทรัพย์
- ฉุนเฉียวง่าย มีอารมณ์หุนหันพลันแล่น และเกรี้ยวกราด
- มีนิสัยกลับกลอก เชื่อถือไม่ได้ ชอบโทษผู้อื่น และมักโกหกอยู่เสมอ
- หนีเรียน รวมถึงหนีออกจากบ้าน
- ใช้สารเสพติด
- หมกมุ่นในกิจกรรมทางเพศ
ด้านความตั้งใจและสมาธิ (Attention and Concentration)
- มีความสามารถในการจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะสั้น (Short attention span) ซึ่งอาจไม่เกิน 20 วินาที และสามารถถูกสิ่งต่างๆ รอบตัวดึงความสนใจได้ทุกเมื่อ
- มีลักษณะงัวเงีย ไม่แสดงความสนใจใดๆ รวมถึงมีท่าทางเหมือนไม่ฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูด
สมาธิสั้น (Attention Deficit)
- มีลักษณะกระวนกระวาย ไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ได้ และหยุกหยิกไปมา
- พูดคุยตลอดเวลา และมักรบกวนหรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่นอยู่เสมอ
- มีทักษะการจัดการในระดับต่ำ
การถอนตัวหรือล้มเลิก (Withdrawal)
- การถอนตัวหรือล้มเลิก และมักรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าผู้อื่น
- เฉื่อยชา และมีลักษณะคล้ายเหนื่อยตลอดเวลา
- ขาดความมั่นใจ ขี้อาย ขี้กลัว ไม่ค่อยแสดงความรู้สึก
ความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย (Function Disorder)
- ความผิดปกติเกี่ยวกับพฤติกรรมการกิน (Eating Disorder) เช่น การอาเจียนโดยสมัครใจ (Voluntary Regurgitation) การปฏิเสธที่จะรับประทาน รวมถึงนิสัยการรับประทานสิ่งที่รับประทานไม่ได้
- โรคอ้วน (Obesity)
- ความผิดปกติของการขับถ่ายทั้งอุจจาระและปัสสาวะ (Elimination Disorder)
เด็กสมาธิสั้น
(Children With Attention Deficit Hyperactivity Disordes; ADHD)
สาเหตุ
- ความผิกปกติของสารเคมีบางชนิดในสมอง
- ความผิดปกติในการทำงานของวงจรที่ควบคุมสมาธิ
- พันธุกรรม
- สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
ADHD เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวช มีลักษณะเด่นอยู่ 3 ประการ คือ
Hyperactivity (ซนอยู่ไม่นิ่ง)
- ซุกซนไม่ยอมอยู่นิ่ง
- เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
- เหลียวซ้ายแลขวา
- ยุกยิก แกะโน่นเกานี่
- อยู่ไม่สุข ปีนป่าย
- นั่งไม่ติดที่
- ชอบคุยส่งเสียงดังรบกวนคนรอบข้าง
Impulsiveness (หุนหันพลันแล่น)
- ยับยั่งตัวเองไม่ค่อยได้
- ขาดความยับยั่งชั่งใจ
- ไม่อดทนต่อการรอคอย
- ไม่อยู่ในกติกา
- ทำอะไรค่อนข้างรุนแรง
- พูดโพล่ง ทะลุกลางปล้อง
- ไม่รอคอยให้คนอื่นพูดจบก่อน
การประเมินตนเอง
- วันนี้ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายถึงเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ และจดบันทึกลงสมุดโน๊ต
การประเมินเพื่อน
- วันนี้เพื่อนๆส่วนใหญ่ตั้งใจเรียนดี ไม่ค่อยคุยหรือเวลากันในเวลาเรียน และจดบันทึกลงในสมุด
การประเมินอาจารย์ผู้สอน
- วันนี้อาจารย์ได้บอกถึงอาการของเด็กที่ความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ถึและวิธีดูแลเด็ก และได้ให้นักศึกษาชม VDO และจดบันทึก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น