วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6


 บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่ 22  กันยายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 6  เวลาเรียน 11.30 - 14.00 กลุ่ม 103




กิจกรรมวันนี้

         วันนี้อาจารย์ได้นำ PowerPoint เรื่องประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ(ต่อ)จากอาทิตย์ที่แล้ว

         ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ(ต่อ)
          4.เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
              หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องซึ้งเกิดจากการพูดผิดปกติในด้านความชัดเจนในการปรับปรุงแต่งระดับและคุณภาพของเสียง จังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด
               - ความบกพร่องในด้านการปรุงเสียง 
               - ความบกพร่องของจังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด
               - ความบกพร่องของเสียงพูด
              ความบกพร่องทางภาษา หมายถึง การขาดความสามารถที่จะเข้าใจความหมายของคำพูด และ/หรือไม่สามารถแสดงความคิดออกมาเป็นถ้อยคำได้
               - การพัฒนาการทางภาษาช้ากว่าวัย
               - ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมอง 
          5.เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ 

               - โรคลมชัก(Epilepsy) เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบสมอง หรือมีกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติและมากเกินปล่อยออกมาจากเซลล์สมองพร้อมกัน ลมชักมีหลายประเภท ดังนี้
              1.การชักในช่วงเวลาสั้นๆ (Petit Mal)
              2.การชักแบบรุนแรง (Grand Mal)
              3.อาการชักแบบ Partial Complex
              4.อาการไม่รู้สึกตัว (Focal Partial)
              5.ลมบ้าหมู(Grand Mal)

            - ซี.พี (Cerebral Palsy) แบ่งได้ดังนี้
1.กลุ่มแข็งเกร็ง
     - อัมพาตครึ่งซีก
     - อัมพาตครึ่งท่อนบน
     - อัมพาตครึ่งท่อนล่าง
     - อัมพาตทั้งตัว
2.กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเอง
     - athetoid
     - ataxia
3.กลุ่มอาการแบบผสม
     - กล้ามเนื้ออ่อนแรง

            - โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ(Orthopedic) ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เท้า กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด

            - โรคโปลิโอ(Poliomyelitis) มีอาการกล้ามเนื้อลีบเล็ก แต่ไม่มีผลกระทบต่อสติปัญญา หรืออาจจะยืนไม่ได้ หรืออาจปรับสภาพให้ยืนเดินได้ด้วยอุปกรณ์เสริม   
          
            - โรคระบบทางเดินหายใจ
          
            - โรคเบาหวาน

            - โรคหัวใจ
            
            - โรคมะเร็ง

            - เลือดไหลไม่หยุด

            - โรคกระดูกอ่อน

            - โรคศีรษะโต

            - โรคข้ออักเสบรูมตอย

สรปผลจากการเรียนรู้          








การประเมินตนเอง

- วันนี้ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอ และจดบันทึกลงสมุดโน๊ต

การประเมินเพื่อน

- วันนี้เพื่อนๆส่วนใหญ่ตั้งใจเรียนดี ไม่ค่อยคุยหรือเวลากันในเวลาเรียน ตั้งใจฟังเพื่อนออกมานำเสนองาน และจดบันทึกลงในสมุด

การประเมินอาจารย์ผู้สอน

- วันนี้อาจารย์ได้บอกถึงอาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ และช่วยชี้แนะในการนำเสนอของแต่ละกลุ่ม และเสริมข้อมูลเพิ่มเติมจากที่เพื่อนเอามาเสน

วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5


บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่ 15  กันยายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 5  เวลาเรียน 11.30 - 14.00 กลุ่ม 103




กิจกรรมวันนี้


ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

1.กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง
          มีความเป็นเลิศทางสติปัญญา เรียกโดยทั่วๆไปว่า "เด็กปัญญาเลิศ"

เด็กปัญญาเลิศ(Gifted Child)
- เด็กที่มีความสามารถทางสติปัญญา
- มีความถนัดเฉพาะทาง สูงกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
ลักษณะของเด็กปัญญาเลิศ
- พัฒนาการทางร่างกายและจิตใจสูงกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
- เรียนรู้สิ่งต่างๆได้อย่างรวดเร็วและง่าย
- อยากรู้อยากเห็นอย่างจริงจัง ชอบซักถาม
- มีเหตุผลในการแก้ปัญหา การใช้สามัญสำนึก
- จดจำได้รวดเร็วและแม่นยำ
- มีความรู้ ใช้คำศัพท์เกินวัย
- มีความคิดริเริ่ม มีวิธีการคิดและแนวคิดแปลกๆ
- เป็นคนตื่นตัว เฉียบแหลม ว่องไว และช่างสังเกต
- มีแรงจูงใจ และมีความมานะบากบั่นมีความจริงจังในการทำงาน
- ชอบแสวงหาสิ่งท้าทายความคิดความอ่าน

2.กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง

          1.เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา
               - เด็กเรียนช้า
               - เด็กปัญญาอ่อน
               - เด็กดาวน์ซินโดรม
          2.เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
               - เด็กหูตึง
               - เด็กหูหนวก
           3.เด็กที่บกพร่องทางการมองเห็น
               - เด็กตาบอด
               - เด็กตาบอดไม่สนิท

สรุปจากการเรียนรู้






         

การประเมินตนเอง

- วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน และยกตัวอย่างให้ดู และจดบันทึกลงสมุดโน๊ต

การประเมินเพื่อน

- วันนี้เพื่อนๆส่วนใหญ่ตั้งใจเรียนดี ไม่ค่อยคุยหรือเวลากันในเวลาเรียน และจดบันทึกลงในสมุด

การประเมินอาจารย์ผู้สอน

- วันนี้อาจารย์ได้เสนอถึงประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ พร้อมกับยกตัวอย่างมาให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4


 บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่ 8  กันยายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 4  เวลาเรียน 11.30 - 14.00 กลุ่ม 103




กิจกรรมวันนี้

          วันนี้อาจารย์ได้ให้นำเสนอ Power point ของแต่ล่ะกลุ่มที่เตรียมมานำเสนอเกี่ยวกับเด็กพิเศษ ทั้งหมด 6 ประเภท

กลุ่มที่ 1 ซี.พี (C.P)

          ซีพีคือเด็กที่ มีความเสียหายของเนื้อสมองเกิดขึ้นในช่วงอายุที่สมองยังเจริญไม่เต็มที่และจะไม่สามารถคืนสู่สภาพปกติเพราะเซลล์สมองไม่สามารถแบ่งตัว เพิ่มจำนวนแทนที่ส่วนที่เสียหายได้
          สาเหตุของโรค เกิดขึ้นได้ทั้งก่อน/ระหว่าง /หลังคลอด อาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ หรือจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับแม่ แม่ที่มีความดันโลหิตสูงหรือเป็นโรคเบาหวานอาจเป็นปัญหากับทารกในครรภ์ นอกจากนี้ อาจเป็นปัญหาระหว่างคลอดที่เด็กได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ คลอดยาก สมองได้รับการกระทบกระเทือน เด็กคลอดก่อนกำหนด

กลุ่มที่ 2 แอลดี (LD)

         เด็กที่อยู่ในภาวะความบกพร่องในการเรียนรู้ เด็กๆ เหล่านี้จะมีสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือฉลาดกว่า แต่การเรียนรู้ในด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายๆ ด้านจะช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน
         โรคแอลดีเกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นสมองส่วนใดหรือมีความผิดปกติอย่างไร พบว่ามักจะอยู่ในกลุ่มที่แม่มีปัญหาในระหว่างตั้งครรภ์ มีปัญหาระหว่างคลอดหรือหลังคลอด หรือสมองของเด็กมีการทำงานผิดปกติ โดยอาจเกิดจากการติดเชื้อ อุบัติเหตุ ได้รับสารพิษ เป็นต้น
          เด็กแอลดีไม่ได้เป็นปัญญาอ่อน มีสติปัญญาปกติหรือมากกว่าปกติ และไม่ได้พิการใดๆ ทั้งสิ้น สาเหตุจะต้องมาจากความผิดปกติของสมองเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่การอยู่ในวัฒนธรรมหรือสิ่งแวดล้อมที่มีลักษณะด้อยโอกาสในการดูแล หรือ เด็กที่มีความบกพร่องด้านการเรียน อาจเกิดจากระบบการสอนที่ไม่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กตามวัย อาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความบกพร่องด้านการเรียนได้ เช่น การเร่งให้เด็กเขียนหนังสือในขณะที่พัฒนาการกล้ามเนื้อของเด็กยังไม่พร้อม เป็นต้น จึงไม่จัดอยู่ในกลุ่มของเด็กแอลดี

         
กลุ่มที่ 3 ออทิสซึม


          เป็นความผิดปกติในการเจริญของระบบประสาท โดยมีลักษณะเด่นคือความบกพร่องด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและการสื่อสาร และมีพฤติกรรมทำกิจกรรมบางอย่างซ้ำๆ ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มักเรียกกันว่าผู้ป่วยออทิสติก อาการแสดงดังกล่าวมักปรากฏในวัยเด็กก่อนอายุ 3 ปี นอกจากนี้ยังมีความบกพร่องด้านสังคมและการสื่อสารที่จัดในกลุ่มใกล้เคียงโรคออทิซึม เรียกว่า Autism spectrum disorder (ASD) อาทิกลุ่มอาการแอสเปอร์เกอร์ (Asperger syndrome) ที่มีอาการและอาการแสดงน้อยกว่า

กลุ่มที่ 4 สมาธิสั้น

           เป็นโรคประสาทประเภทความผิดปกติในการเจริญเติบโตของระบบประสาท ซึ่งจะมีปัญหาเกี่ยวกับการเรียกร้องความสนใจ การแสดงออกอย่างหุนหันพันแล่น ซึ่งไม่เหมาะสมตามวัยลักษณะอาการจะเริ่มที่อายุ 6 ขวบถึง 12 ขวบและมีอาการต่อเนื่องมากกว่า 6 เดือน พบเห็นมากในวัยที่เข้าเรียนแล้ว และมักจะส่งผลให้มีผลการเรียนที่ย่ำแย่

กลุ่มที่ 5 ปัญญาเลิศ

           เด็กปัญญาเลิศ หมายถึง เด็กที่มีความสามารถทางสติปัญญา และความถนัดเฉพาะทางอยู่ระดับสูงกว่าเด็กอื่นในวัยเดียวกัน คำที่ใช้ในความหมายที่มีอยู่หลายคำ เช่น เด็กปัญญาเลิศ เด็กอัจฉริยะ เด็กฉลาด เด็กมีพรสวรรค์ ฯลฯ เมื่อพูดถึงเด็กปัญญาเลิศ ก็มักนึกถึงเด็กที่เรียนเก่ง สอบได้คะแนนดีหรือถือเอาเรื่องของความถนัดเฉพาะทางซึ่งเรียกกันว่า พรสวรรค์ในด้านที่เห็นได้ชัด เช่น ทางศิลปะ และดนตรีเป็นหลัก ดังนั้นเด็กที่ไม่มีโอกาสแสดงความสามารถไม่ว่าทางใด เช่น เด็กยากจน หรือยู่ในสิ่งแวดล้อมจำกัดไม่ได้รับการส่งเสริมให้เป็นเด็กมีความสามารถ ก็ไม่มีโอกาสได้ชื่อว่าเป็นเด็กปัญญาเลิศ แต่เด็กปัญญาเลิศก็ยังคงเป็นเด็กที่มีความต้องการอื่นๆ เหมือนเด็กทั่วๆไป ปัญหาที่พบมักจะเป็นผลจากสิ่งแวดล้อมที่ไม่เข้าใจธรรมชาติของเด็กกลุ่มนี้ และไม่สามารถเอื้ออำนวยต่อความต้องการและความสามารถของเด็กได้อย่างเหมาะสม จึงพบปัญหาการปรับตัวได้ เช่น การแยกตัวจากกลุ่มเพื่อน เบื่อหน่ายการเรียนที่ไม่ได้เรียนสิ่งที่ตนเองสนใจ หรือคับข้องใจที่ได้รับการส่งเสริมแต่เพียงการใช้ความสามารถทางเชาวน์ปัญญา แต่ขาดการตอบสนองทางอารมณ์ตามวัย

กลุ่มที่ 6 ดาวน์ซินโดรม


          เป็นโรคพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม เด็กกลุ่มอาการดาวน์จะมีศีรษะค่อนข้างเล็ก แบน และตาเฉียงขึ้น ดั้งจมูกแบน ปากเล็ก ลิ้นมักยื่นออกมา ตัวค่อนข้างเตี้ย มือสั้น มักมีโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หรือโรคลำไส้อุดตันตั้งแต่แรกเกิด และภาวะต่อมไทรอยด์บกพร่องและปัญหาหลักคือ ภาวะปัญญาอ่อน
          สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดก็คือ การมีโครโมโซมเกินไป 1 แท่ง คือ โครโมโซมคู่ที่ 21 มี 3 แท่ง แทนที่จะมี 2 แท่ง ซึ่งทางการแพทย์เรียกว่าTRISOMY 21 มีมากถึง 95% สาเหตุรองลงมาเรียกว่า TRANSLOCATION คือมีโครโมโซมย้ายที่ เช่น โครโมโซมคู่ที่ 14 มายึดติดกับคู่ที่ 21 เป็นต้น พบได้ 4% ส่วนสาเหตุที่พบได้น้อยที่สุดคือมีโครโมโซมทั้ง 46 และ 47 แท่งในคนๆ เดียว พบได้เพียง 1% เท่านั้นเรียกว่า MOSAIC





การประเมินตนเอง

- วันนี้ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอ และจดบันทึกลงสมุดโน๊ต

การประเมินเพื่อน

- วันนี้เพื่อนๆส่วนใหญ่ตั้งใจเรียนดี ไม่ค่อยคุยหรือเวลากันในเวลาเรียน ตั้งใจฟังเพื่อนออกมานำเสนองาน และจดบันทึกลงในสมุด

การประเมินอาจารย์ผู้สอน

- วันนี้อาจารย์ได้บอกถึงอาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ และช่วยชี้แนะในการนำเสนอของแต่ละกลุ่ม และเสริมข้อมูลเพิ่มเติมจากที่เพื่อนเอามาเสนอ

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3


 บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่ 1  กันยายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 3  เวลาเรียน 11.30 - 14.00 กลุ่ม 103




กิจกรรมวันนี้

          เด็กที่มีความต้องการพิเศษหมายถึง
- เด็กที่ไม่อาจพัฒนาความสามารถได้เท่าที่ควร จากการให้การช่วยเหลือ และการสอนตามปกติ
- มีสาเหตุจากสภาพความบกพร่องทางร่างกาย สติปัญญาและอารมณ์
- จำเป็นต้องได้รับการกระตุ้น ช่วยเหลือ การบำบัด และฟื้นฟู
- จัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับลักษณะ และความต้องการของเด็กแต่ละบุคคล
     
          พฤติกรรมและพัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
- การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่ และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆรวมทั้งตัวบุคคล
- ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าปกติในวัยเดียวกัน
- พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง หลายด้านหรือทุกด้าน
- พัฒนาการล่าช้าในหนึ่งอาจส่งผลให้ พัฒนาการในด้านอื่นล่าช้าด้วยก็ได้

          สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ

          


          แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ




การประเมินตนเอง

- วันนี้ตั้งใจฟังอาจารย์สอน และจดบันทึกลงสมุดโน๊ต

การประเมินเพื่อน

- วันนี้เพื่อนๆส่วนใหญ่ตั้งใจเรียนดี ไม่ค่อยคุยหรือเวลากันในเวลาเรียน

การประเมินอาจารย์ผู้สอน

- วันนี้อาจารย์ได้บอกถึงอาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ พร้อมกับยกตัวอย่างอธิบายเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น และได้นำกิจกรรมที่ใช้ทดสอบพัฒนาการเด็กพิเศษมาให้นักศึกษาได้ลองทดสอบกัน