บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 4 เวลาเรียน 11.30 - 14.00 กลุ่ม 103
กิจกรรมวันนี้
กลุ่มที่ 1 ซี.พี (C.P)
ซีพีคือเด็กที่ มีความเสียหายของเนื้อสมองเกิดขึ้นในช่วงอายุที่สมองยังเจริญไม่เต็มที่และจะไม่สามารถคืนสู่สภาพปกติเพราะเซลล์สมองไม่สามารถแบ่งตัว เพิ่มจำนวนแทนที่ส่วนที่เสียหายได้
สาเหตุของโรค เกิดขึ้นได้ทั้งก่อน/ระหว่าง /หลังคลอด อาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ หรือจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับแม่ แม่ที่มีความดันโลหิตสูงหรือเป็นโรคเบาหวานอาจเป็นปัญหากับทารกในครรภ์ นอกจากนี้ อาจเป็นปัญหาระหว่างคลอดที่เด็กได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ คลอดยาก สมองได้รับการกระทบกระเทือน เด็กคลอดก่อนกำหนด
กลุ่มที่ 2 แอลดี (LD)
เด็กที่อยู่ในภาวะความบกพร่องในการเรียนรู้ เด็กๆ เหล่านี้จะมีสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือฉลาดกว่า แต่การเรียนรู้ในด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายๆ ด้านจะช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน
โรคแอลดีเกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นสมองส่วนใดหรือมีความผิดปกติอย่างไร พบว่ามักจะอยู่ในกลุ่มที่แม่มีปัญหาในระหว่างตั้งครรภ์ มีปัญหาระหว่างคลอดหรือหลังคลอด หรือสมองของเด็กมีการทำงานผิดปกติ โดยอาจเกิดจากการติดเชื้อ อุบัติเหตุ ได้รับสารพิษ เป็นต้น
เด็กแอลดีไม่ได้เป็นปัญญาอ่อน มีสติปัญญาปกติหรือมากกว่าปกติ และไม่ได้พิการใดๆ ทั้งสิ้น สาเหตุจะต้องมาจากความผิดปกติของสมองเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่การอยู่ในวัฒนธรรมหรือสิ่งแวดล้อมที่มีลักษณะด้อยโอกาสในการดูแล หรือ เด็กที่มีความบกพร่องด้านการเรียน อาจเกิดจากระบบการสอนที่ไม่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กตามวัย อาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความบกพร่องด้านการเรียนได้ เช่น การเร่งให้เด็กเขียนหนังสือในขณะที่พัฒนาการกล้ามเนื้อของเด็กยังไม่พร้อม เป็นต้น จึงไม่จัดอยู่ในกลุ่มของเด็กแอลดี
เป็นความผิดปกติในการเจริญของระบบประสาท โดยมีลักษณะเด่นคือความบกพร่องด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและการสื่อสาร และมีพฤติกรรมทำกิจกรรมบางอย่างซ้ำๆ ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มักเรียกกันว่าผู้ป่วยออทิสติก อาการแสดงดังกล่าวมักปรากฏในวัยเด็กก่อนอายุ 3 ปี นอกจากนี้ยังมีความบกพร่องด้านสังคมและการสื่อสารที่จัดในกลุ่มใกล้เคียงโรคออทิซึม เรียกว่า Autism spectrum disorder (ASD) อาทิกลุ่มอาการแอสเปอร์เกอร์ (Asperger syndrome) ที่มีอาการและอาการแสดงน้อยกว่า
กลุ่มที่ 4 สมาธิสั้น
เป็นโรคประสาทประเภทความผิดปกติในการเจริญเติบโตของระบบประสาท ซึ่งจะมีปัญหาเกี่ยวกับการเรียกร้องความสนใจ การแสดงออกอย่างหุนหันพันแล่น ซึ่งไม่เหมาะสมตามวัยลักษณะอาการจะเริ่มที่อายุ 6 ขวบถึง 12 ขวบและมีอาการต่อเนื่องมากกว่า 6 เดือน พบเห็นมากในวัยที่เข้าเรียนแล้ว และมักจะส่งผลให้มีผลการเรียนที่ย่ำแย่
กลุ่มที่ 5 ปัญญาเลิศ
เด็กปัญญาเลิศ หมายถึง เด็กที่มีความสามารถทางสติปัญญา และความถนัดเฉพาะทางอยู่ระดับสูงกว่าเด็กอื่นในวัยเดียวกัน คำที่ใช้ในความหมายที่มีอยู่หลายคำ เช่น เด็กปัญญาเลิศ เด็กอัจฉริยะ เด็กฉลาด เด็กมีพรสวรรค์ ฯลฯ เมื่อพูดถึงเด็กปัญญาเลิศ ก็มักนึกถึงเด็กที่เรียนเก่ง สอบได้คะแนนดีหรือถือเอาเรื่องของความถนัดเฉพาะทางซึ่งเรียกกันว่า พรสวรรค์ในด้านที่เห็นได้ชัด เช่น ทางศิลปะ และดนตรีเป็นหลัก ดังนั้นเด็กที่ไม่มีโอกาสแสดงความสามารถไม่ว่าทางใด เช่น เด็กยากจน หรือยู่ในสิ่งแวดล้อมจำกัดไม่ได้รับการส่งเสริมให้เป็นเด็กมีความสามารถ ก็ไม่มีโอกาสได้ชื่อว่าเป็นเด็กปัญญาเลิศ แต่เด็กปัญญาเลิศก็ยังคงเป็นเด็กที่มีความต้องการอื่นๆ เหมือนเด็กทั่วๆไป ปัญหาที่พบมักจะเป็นผลจากสิ่งแวดล้อมที่ไม่เข้าใจธรรมชาติของเด็กกลุ่มนี้ และไม่สามารถเอื้ออำนวยต่อความต้องการและความสามารถของเด็กได้อย่างเหมาะสม จึงพบปัญหาการปรับตัวได้ เช่น การแยกตัวจากกลุ่มเพื่อน เบื่อหน่ายการเรียนที่ไม่ได้เรียนสิ่งที่ตนเองสนใจ หรือคับข้องใจที่ได้รับการส่งเสริมแต่เพียงการใช้ความสามารถทางเชาวน์ปัญญา แต่ขาดการตอบสนองทางอารมณ์ตามวัย
โรคแอลดีเกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นสมองส่วนใดหรือมีความผิดปกติอย่างไร พบว่ามักจะอยู่ในกลุ่มที่แม่มีปัญหาในระหว่างตั้งครรภ์ มีปัญหาระหว่างคลอดหรือหลังคลอด หรือสมองของเด็กมีการทำงานผิดปกติ โดยอาจเกิดจากการติดเชื้อ อุบัติเหตุ ได้รับสารพิษ เป็นต้น
เด็กแอลดีไม่ได้เป็นปัญญาอ่อน มีสติปัญญาปกติหรือมากกว่าปกติ และไม่ได้พิการใดๆ ทั้งสิ้น สาเหตุจะต้องมาจากความผิดปกติของสมองเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่การอยู่ในวัฒนธรรมหรือสิ่งแวดล้อมที่มีลักษณะด้อยโอกาสในการดูแล หรือ เด็กที่มีความบกพร่องด้านการเรียน อาจเกิดจากระบบการสอนที่ไม่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กตามวัย อาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความบกพร่องด้านการเรียนได้ เช่น การเร่งให้เด็กเขียนหนังสือในขณะที่พัฒนาการกล้ามเนื้อของเด็กยังไม่พร้อม เป็นต้น จึงไม่จัดอยู่ในกลุ่มของเด็กแอลดี
กลุ่มที่ 3 ออทิสซึม
กลุ่มที่ 4 สมาธิสั้น
เป็นโรคประสาทประเภทความผิดปกติในการเจริญเติบโตของระบบประสาท ซึ่งจะมีปัญหาเกี่ยวกับการเรียกร้องความสนใจ การแสดงออกอย่างหุนหันพันแล่น ซึ่งไม่เหมาะสมตามวัยลักษณะอาการจะเริ่มที่อายุ 6 ขวบถึง 12 ขวบและมีอาการต่อเนื่องมากกว่า 6 เดือน พบเห็นมากในวัยที่เข้าเรียนแล้ว และมักจะส่งผลให้มีผลการเรียนที่ย่ำแย่
กลุ่มที่ 5 ปัญญาเลิศ
เด็กปัญญาเลิศ หมายถึง เด็กที่มีความสามารถทางสติปัญญา และความถนัดเฉพาะทางอยู่ระดับสูงกว่าเด็กอื่นในวัยเดียวกัน คำที่ใช้ในความหมายที่มีอยู่หลายคำ เช่น เด็กปัญญาเลิศ เด็กอัจฉริยะ เด็กฉลาด เด็กมีพรสวรรค์ ฯลฯ เมื่อพูดถึงเด็กปัญญาเลิศ ก็มักนึกถึงเด็กที่เรียนเก่ง สอบได้คะแนนดีหรือถือเอาเรื่องของความถนัดเฉพาะทางซึ่งเรียกกันว่า พรสวรรค์ในด้านที่เห็นได้ชัด เช่น ทางศิลปะ และดนตรีเป็นหลัก ดังนั้นเด็กที่ไม่มีโอกาสแสดงความสามารถไม่ว่าทางใด เช่น เด็กยากจน หรือยู่ในสิ่งแวดล้อมจำกัดไม่ได้รับการส่งเสริมให้เป็นเด็กมีความสามารถ ก็ไม่มีโอกาสได้ชื่อว่าเป็นเด็กปัญญาเลิศ แต่เด็กปัญญาเลิศก็ยังคงเป็นเด็กที่มีความต้องการอื่นๆ เหมือนเด็กทั่วๆไป ปัญหาที่พบมักจะเป็นผลจากสิ่งแวดล้อมที่ไม่เข้าใจธรรมชาติของเด็กกลุ่มนี้ และไม่สามารถเอื้ออำนวยต่อความต้องการและความสามารถของเด็กได้อย่างเหมาะสม จึงพบปัญหาการปรับตัวได้ เช่น การแยกตัวจากกลุ่มเพื่อน เบื่อหน่ายการเรียนที่ไม่ได้เรียนสิ่งที่ตนเองสนใจ หรือคับข้องใจที่ได้รับการส่งเสริมแต่เพียงการใช้ความสามารถทางเชาวน์ปัญญา แต่ขาดการตอบสนองทางอารมณ์ตามวัย
กลุ่มที่ 6 ดาวน์ซินโดรม
เป็นโรคพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม เด็กกลุ่มอาการดาวน์จะมีศีรษะค่อนข้างเล็ก แบน และตาเฉียงขึ้น ดั้งจมูกแบน ปากเล็ก ลิ้นมักยื่นออกมา ตัวค่อนข้างเตี้ย มือสั้น มักมีโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หรือโรคลำไส้อุดตันตั้งแต่แรกเกิด และภาวะต่อมไทรอยด์บกพร่องและปัญหาหลักคือ ภาวะปัญญาอ่อน
สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดก็คือ การมีโครโมโซมเกินไป 1 แท่ง คือ โครโมโซมคู่ที่ 21 มี 3 แท่ง แทนที่จะมี 2 แท่ง ซึ่งทางการแพทย์เรียกว่าTRISOMY 21 มีมากถึง 95% สาเหตุรองลงมาเรียกว่า TRANSLOCATION คือมีโครโมโซมย้ายที่ เช่น โครโมโซมคู่ที่ 14 มายึดติดกับคู่ที่ 21 เป็นต้น พบได้ 4% ส่วนสาเหตุที่พบได้น้อยที่สุดคือมีโครโมโซมทั้ง 46 และ 47 แท่งในคนๆ เดียว พบได้เพียง 1% เท่านั้นเรียกว่า MOSAIC
การประเมินตนเอง
- วันนี้ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอ และจดบันทึกลงสมุดโน๊ต
การประเมินเพื่อน
- วันนี้เพื่อนๆส่วนใหญ่ตั้งใจเรียนดี ไม่ค่อยคุยหรือเวลากันในเวลาเรียน ตั้งใจฟังเพื่อนออกมานำเสนองาน และจดบันทึกลงในสมุด
การประเมินอาจารย์ผู้สอน
- วันนี้อาจารย์ได้บอกถึงอาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ และช่วยชี้แนะในการนำเสนอของแต่ละกลุ่ม และเสริมข้อมูลเพิ่มเติมจากที่เพื่อนเอามาเสนอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น